วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13



บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันที่ 21 เดือน พฤศจิกายน ปี 2559  เวลาเรียน 08:30 - 12:30น.



ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้เริ่นต้นเรียนด้วยการนำเสนอชิ้นงานที่ทำมาจากวัสดุเหลือใช้ ของเพื่อนที่ยังไม่ได้นำเสนอ

  



วิธีการทำลำโพงมือถือจากขวดน้ำพลาสติก

หลังจากเพื่อนนำเสนองานแล้วอาจารย์ร้องเพลงให้นักศึกษาเดินเป็นวงกลม


รอบที่ 1 เมื่อเพลงหยุดอาจารย์ให้จับกลุ่ม3 คน เมื่อจับกลุ่มได้แล้วให้นั่งลง


รอบที่ 2 ทุกคนเดินใหม่อาจารย์หยุดร้องเพลงและสั่งว่ารถจักรยานยนต์ชนกับรถจักยาน 2ชน 2 เท่ากับ 4ใครจับกลุ่มสี่คนได้แล้วให้นั่งลง




รอบที่ 3 ทุกคนเดินใหม่อาจารย์หยุดร้องเพลงและสั่งว่าให้จับกลุ่ม 5 คน

แล้วอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันแต่งละครเรื่องสั้น โดยมีประเด็นปัญหาคือ "ถ้าสิ่งมีชีวิตในโลกพูดได้จะเกิดอะไรขึ้น"


แจกกระดาษให้กลุ่มละ 3 แผ่น






ในกลุ่มช่วยกันแต่งละคร

แต่งละครเสร็จแล้ว


ความรู้สึกของทุกคนในกลุ่มที่มีต่อการแสดงละครในครั้งนี้


กลุ่มที่ 1 แสดงเรื่อง "ถ้าฉันเดินได้


หญ้าแฝกและเพื่อนๆ เพื่อนๆของหญ้าแฝกเดินได้อยู่มาวันหนึ่งหญ้าแฝกอยากเดินได้เพื่อที่จะได้เดินไปไหนมาไหนกับเพื่อนสัตว์ 
เพื่อนเลยช่วยกันดึงหญ้าแฝกออกมาจากดินแล้วพาเดินเล่นไปเรื่อยๆ เวลาผ่านไปหญ้าแฝกค่อยๆเฉาและอ่อนแรงลง เพื่อนๆจึงพาหญ้าแฝกกลับมาที่ริมน้ำที่เดิมทำให้หญ้าแฝกกลับมาสดชื่นได้อีกครั้ง
ละครเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า" ทุกสิ่งมีหน้าที่ของแต่ละสิ่งในแต่ละพื้นที่ จงพอใจในสิ่งที่มีอยู่"

กลุ่มที่ 2 เรื่อง "ยีราฟผู้กระหายน้ำ"



เจ้ายีราฟหิวน้ำมากแต่ด้วยความที่คิดว่าบ่อน้ำข้างหน้าจะมีน้ำให้ดื่มมากกว่าบ่อที่เจอจึงเดินไปหาบ่อน้ำเรื่อยๆจนในที่สุดเจ้ายีราฟก็ใกล้จะขาดน้ำตาย ทันใดนั้นก็มีเพื่อนสัตว์ด้วยกันบอกให้เจ้ายีราฟกลับไปดื่มน้ำบ่อแรกที่เจอและอย่าหวังน้ำบ่อหน้าอีก เมื่อได้ยินดังนั้นแล้วเจ้ายีราฟจึงตัดสินใจเดินทางกลับมายังบ่อน้ำที่1เพื่อที่จะดื่มและมีชีวิตอยู่ต่อไป
ละครเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า"ทำวันนี้ให้ดีที่สุดและเห็นคุณค่าของสิ่งที่ตนมีอย่าไปหวังในสิ่งที่เรายังไม่เจอ"


กลุ่มที่ 3 เรื่อง "ป่ามหัศจรรย์

เป็นเรื่องราวของพญานกผู้มีใจเมตตา เมื่อสัตว์ทุกตัวพูดได้ และพญานกจะกินสัตว์ตัวใดเป็นอาหาร พอสัตว์เหล่านั้นร้องขอชีวิตพญานกก็ไม่กินจนในที่สุดพญานกก็ตายเพราะความหิว
ละครเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า"ความเมตตาที่ไม่ถูกต้องอาจจะกลับมาทำร้ายเราเอง"


กลุ่มที่ 4 เรื่อง "เพื่อนรัก"
สัตว์ทุกตัวเป็นเพื่อนกันอยู่มาวันหนึ่งเจ้าสิงโตเดินไปเจอบ่อน้ำแห่งหนึ่งแล้วดื่มน้ำนั้นแล้วทำให้เจ้าสิงโตพูดได้ จากนั้นเจ้าสิงโตจึงสั่งให้เพื่อนสัตว์ทุกตัวมารับใช้เจ้าสิงโตเพราะเจ้าสิงโตพูดได้อยู่ตัวเดียวในที่สุดเพื่อนสัตว์ทั้งหลายก็เดินไปเจอบ่อน้ำที่เจ้าสิงโตเจอ สัตว์ทุกตัวได้ดื่มน้ำนั้นแล้วพูดได้เหมือนเจ้าสิงโต เหล่าสัตว์จึงมาหาเจ้าสิงโตแล้วบอกความจริงทั้งหมดและไม่ยอมรับใช้เจ้าสิงโตอีกต่อไปเพราะแต่ละตัวก็พูดได้เช่นกัน เจ้าสิงโตรู้สึกถึงความผิดของตนเองจึงขอโทษเพื่อนๆและขอกลับมาเป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม พวกเพื่อนๆเห็นว่าเจ้าสิงโตกลับใจจริงๆทุกตัวจึงให้อภัยให้เจ้าสิงโตแล้วกลับมาเป็นเพื่อนกันเหมือนเดิมอย่างมีความสุข
ละครเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า "อยู่ร่วมกันในสังคมต้องไม่เห็นแก่ตัว"



กลุ่มที่ 5 เรื่อง "เจ้าหญิงกบ"



มีเจ้าชายองค์หนึ่งที่กำลังจะแต่งงานกับผู้หญิงที่ตนเองไม่ได้รักแต่ถูกพ่อแม่บังคับให้แต่งงาน เจ้าชายจึงหนีการแต่งงานไป ระหว่างทางเจ้าชายเจอกบตัวหนึ่งที่ร้องขอให้เจ้าชายช่วย เมื่อเจ้าชายทำตามในสิ่งที่เจ้ากบของแล้วคำสาปของเจ้ากบก็หายไป เจ้ากบกลายเป็นหญิงสาวผู้งดงาม เมื่อเจ้าชายเห็นว่าเจ้ากบงดงามยิ่งนักเจ้าชายก็ใช้ชีวิตอยู่กินกับเจ้ากบ เวลาผ่านไปหลายปี เจ้ากบเห็นว่ากันใช้ชีวิตอยู่กับเจ้าชายนั้นมันน่าเบื่อ เจ้ากบจึงทิ้งเจ้าชายแล้วไปหาชายอื่น ทำให้เจ้าชายเสียใจมากที่เจ้ากบหญิงอันเป็นที่รักหนีไปหาผู้ชายอื่น
ละครเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า "ทำสิ่งใดก็ได้สิ่งนั้น"



กิจกรรมต่อมาคือให้แบ่งกลุ่ม 5 คนโดยที่สมาชิกในกลุ่มต้องไม่ซ้ำกับกลุ่มเดิม จากนั้นให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดหาเพลงและใช้อวัยวะทุกส่วนทำเป็นเสียงดนตรีประกอบ ข้อแม้คือเครื่องดนตรีในกลุ่มต้อง
ไม่ซ้ำกัน



การนำไปประยุกต์ใช้
- การตั้งประเด็นปัญหาเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและแสดงออก
 ผลการประเมิน

การประเมินตนเอง
 - เข้าเรียนตรงเวลา 
- สนุกกับทุกกิจกรรม ได้แสดงความคิดเห็นและให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมกับเพื่อนๆในกลุ่ม

การประเมินเพื่อน

- เพื่อนๆตั้งใจเรียนและเข้าเรียนตรงเวลา
- เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี
- เพื่อนๆทุกคนสนุกและมีความสุข
การประเมินอาจารย์
- อาจารย์เข้าสอนตรงเวล
- อาจารย์ค่อยให้คำแนะนำและสอนอย่างสนุกสนานมาก
- อาจารย์มีความสุขในการสอน



















วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12


บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันที่ 14 เดือน พฤศจิกายน ปี 2559  เวลาเรียน 08:30 - 12:30น.


ความรู้ที่ได้รับ

การเคลื่อนไหวและจังหวะกับความคิดสร้างสรรค์
การเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะและ เสียงดนตรีอโดยที่เด็กแสดงความรู้สึกออกมาทางการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ เช่น การเดิน การกระโดด การแกว่งแขน การทำท่าทางตามจินตนาการ

1.การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
2.การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ
3.การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
4.การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์
5.การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย
6.การเคลื่อนไหวประกอบเพลง

วันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 5 คน 6 กลุ่ม เพื่อมาสาธิตการเคลื่อนไหว

กลุ่มที่1 



กลุ่มที่2



กลุ่มที่ 3



กลุ่มที่4





กลุ่มที่5







การนำไปประยุกต์ใช้
- เปิดโอกาสให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระและสร้างสรรค์ท่าทางต่างๆด้วยตนเอง

 ผลการประเมิน

การประเมินตนเอง
 - เข้าเรียนตรงเวลา 
http://i13.servimg.com/u/f13/11/52/70/02/snowba10.png
Read more: http://nanfufu.blogspot.com/2012/05/blog-post_7965.html#ixzz4R2AJawJv http://i13.servimg.com/u/f13/11/52/70/02/snowba10.png
http://i1208.photobucket.com/albums/cc361/Letthalicious/pinkysnowrssletthagilaa.png


การประเมินเพื่อน

- เพื่อนๆตั้งใจเรียนและเข้าเรียนตรงเวลา
- เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี

การประเมินอาจารย์
- อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา



บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

วันที่ 7 เดือน พฤศจิกายน ปี 2559  เวลาเรียน 08:30 - 12:30น.



ความรู้ที่ได้รับ


1.นำเสนอชิ้นงานของแต่ละคน

1.ภาพสะท้อน โฮโลแกรม



2.เตาอบ ป๊อปคอร์น



3.รถขับเคลื่อนด้วยหนังยาง






4.เตาปิ้งพบพา





5.โคมไฟจากขวดน้ำและช้อนพลาสติก




6.ที่ล้างจาน



7.เตาแก๊ส
8.หมวกจากกล่องนม
9.กระเป๋าจากกล่องนม



10.ถังขยะจากขวดน้ำ



11.เครื่องคิดเงิน



12.เสื่อจากกล่องนม




13.บัวรดน้ำจากกระป๋อง




14.กล่องใส่ดินสอจากขวดน้ำ




15.โต๊ะเขียนหนังสือจากกล่องกระดาษ




16.ตู้ลิ้นชัก





17.กระเป๋าจากกล่องลัง





18.ร้อยเชือกรองเท้า



19.ที่ทำความสะอาดพื้นรองเท้า




20.ฝาชีจากก้นขวดน้ำ





21.ที่คาดผม



22.ตู้เย้น




23.เคสใส่โทรศัพท์มือถือ



2. แต่ละกลุ่มช่วยกันทำหนังสือนิทานตัวเลข



   


การนำไปประยุกต์ใช้
- การนำวัสดุที่เหลือใช้มาทำเป็นของเล่นชิ้นงานเพื่อปรับใช้ในห้องเรียน

 ผลการประเมิน

การประเมินตนเอง
 - เข้าเรียนตรงเวลา 
- ส่งชิ้นงานตรงเวลา


การประเมินเพื่อน

- เพื่อนๆตั้งใจเรียนและเข้าเรียนตรงเวลา


การประเมินอาจารย์
- อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา
- เวลาที่นักศึกษานำเสนอชิ้นงานอาจารย์มีคำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษาเพื่อสามารถนำมาปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม




บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วันที่ 31 เดือน ตุลาคม ปี 2559  เวลาเรียน 08:30 - 12:30น.




ความรู้ที่ได้รับ

ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับความคิดสร้างสรรค์
1.ทักษะการสังเกต
   1.1 ฝึกการสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 
   1.2 การสังเกตบางครั้งต้องใช้ระยะเวลาต่อเนื่องกันจึงจะนำผลการสังเกตมาอธิบาย
   1.3 ส่งเสริมให้เด็กนำข้อมูลต่างๆมาใช้เพื่อช่วยในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา
   1.4 การสังเกตสิ่งของหรือเหตุการณ์บางอย่างต้องมีอุปกรณ์เข้าช่วย
2.ทักษะการจำแนกประเภท
   2.1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กริเริ่มวางแผน และตัดสินใจแยกประเภทสิ่งของจากการสังเกต
   2.2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้วิธีจำแนกประเภทด้วยวิธีต่างๆ
3. ทักษะการสื่อความหมาย เป็นทักษะในการเสนอขอมูลต่างๆ
   3.1 เพื่อฝึกให้เด็กใข้ทักษะการส่งความหมายด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจ
   3.2 เพื่อฝึกทักษะการตั้งคำถามปลายเปิด และการตอบคำถาม
4. ทักษะการแสดงปริมาณเป็นการฝึกทักษะการนับจำนวนสิ่งของ วัตถุ
5. ทักษะการทดลองเป็นทักษะที่เป็นกระบวนการการปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบจากข้อสงสัย
การสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
1.ยอมรับฟังคำถามที่แปลกใหม่ของนักเรียน
2.ยอมรับความคิดและวิธีการแก้ปัญหาแปลกใหม่ที่นักเรียนคิด
3.แสดงให้นักเรียนเห็นว่าความคิดของเรามีคุณค่า
4.จัดโอกาสให้นักเรียนได้คิดและค้นพบโดยไม่ต้องมีการประเมินผล
5.ในการประเมินผลจะต้องให้นักเรียน ได้ทราบเหตุผลของการประเมินผลนั้น
การจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์
1.ส่งเสริมการฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต
2.สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์เป็นของเด็กทุกคน
3.บอกวิธีผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์
4.ปลูกฝังให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์ จะนำมาซึ่งความสนุกและความพอใจ
5.สร้างความมั่นใจในตนเองให้แก่เด็ก



ของเล่นสำหรับเด็กที่ผู้ปกครองสามารถทำร่วมกับเด็กได้


ที่ล้างจาน



อุปกรณ์
1.กล่องลัง
2.คัดเตอร์
3.ไม้บรรทัด
4.ดินสอ
5.กรรไกร
6.กาว
7.ท่อน้ำPVC
8.ก็อกน้ำ
9.ฝาขวดน้ำ
10.ถ้วยสแตนเลสใบเล็ก
11.ฟองน้ำ
12.ขวดน้ำยาล้างจาน
13.แกนทิชชู
14.จานโฟม

วิธีทำ
1.นำกล่องลังมาตัดปิดส่วนท้ายออก




2.ตัดฝาปิดแผ่นยาวออกทั้งสองข้าง

3.เจาะหน้ากล่องทำเป็นประตูเปิดปิด
4.ตัดกล่องกระดาษขนาดเท่ากับตัวกล่องเพื่อทำเป็นผนังที่ตั้งขึ้น แล้วนำมาติดกับตัวกล่องครึ่งหนึ่ง
5.ตัดกระดาษอีกแผ่นหนึ่งที่มีขนาดเท่ากับตัวฝากล่อง แล้วนำมาปิดปากกล่องไว้


6.นำถ้วยสแตนเลสมาวางไว้บนปากกล่องแล้วตีเส้นรอบวง จากนั้นให้ตัดส่วนที่เป็นวงกลมออก หลังจากตัดวงกลมออกแล้วให้นำกระดาษแผ่นนี้ไปติดไว้บนปากกล่องลัง


7.นำถ้วยสแตนเลสมาวางไว้ตรงรูที่เจอไว้แล้วติดกาว

8. นำกระดาษอีกแผ่นที่มีขนาดเท่ากับความกว้างของตัวกล่องลัง มาติดข้างในตัวกล่องลังกระดาษเพื่อทำเป็นชั้นวางของ

9. นำแกนทิชชูมาติดไว้ข้างของชั้นวางของเพื่อเป็นที่ใส่ช้อน ตะเกียบ


10. ตัดกระดาษหนึ่งชิ้นขนาด 2 นิ้วยาว 20 ซม.มาติดที่ประตูเพื่อทำเป็นที่จับเปิดปิดประตู




การนำไปประยุกต์ใช้
 - เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น และจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก



 ผลการประเมิน

การประเมินตนเอง
 - เข้าเรียนตรงเวลา 
- ตั้งใจเรียนและโต้ตอบเวลาอาจารย์ถาม
- สนุกกับการเรียน มีความสุข


การประเมินเพื่อน

- เพื่อนๆตั้งใจเรียนและเข้าเรียนตรงเวลา


การประเมินอาจารย์

- อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาและตั้งใจสอน อาจารย์มีการตั้งคำถามเพื่อให้นักศึกษาได้คิดและแสดงความคิดเห็นด้วยกัน
- อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้อย่างเต็มที่