วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

วันที่ 24 เดือน ตุลาคม ปี 2559  เวลาเรียน 08:30 - 12:30น.


วันปิยมหาราช


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วันปิยมหาราช

วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

วันที่ 17 เดือน ตุลาคม ปี 2559 เวลาเรียน 08:30 - 12:30น.


ความรู้ที่ได้รับ

1.ทบทวนความรู้เดิม
2.กิจกรรมออกแบบตัวเลข 0 - 9



3.แต่ละกลุ่มร่วมกันคิดสร้างสื่อจากตัวเลข 0 - 9




การนำไปประยุกต์ใช้

- ให้เด็กได้เรียนรู้จักตัวเลขด้วยลักษณะของสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก


ผลการประเมิน

การประเมินตนเอง
- สามารถออกแบบตัวเลขเป็นอย่างอื่นโดยยังคงความเป็นตัวเลขเหมือนเดิม
- สามารถเข้าร่วมทำงานกลุ่มกับเพื่อนๆ

การประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆสามารถออกแบบตัวเลขออกมาเป็นแบบต่างๆที่ไม่เหมือนเดิม
- เพื่อนๆช่วยกันแสดงความคิดเห็นที่จะนำตัวเลข 0-9 มาสร้างเป็นสื่อต่างๆที่ใช้ในการสอน

การประเมินอาจารย์

- อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิดออกแบบตัวเลขด้วยตัวเอง

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วันที่ 10 เดือน ตุลาคม ปี 2559 เวลาเรียน 08:30 - 12:30น.

ความรู้ที่ได้รับ

ความคิดสร้างสรรค์หมายถึงความสามารถที่มีอยู่ในตัวบุคคล ซึ่งแสดงออกมาในรูปของการกระทำ การผลิตการตกแตงหรือการแสดงความคิดที่แปลกใหม่เว้นวรรคมีความหลากหลาย ความคิดสร้างสรรค์สามารถส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดขึ้นได้ในเด็กปฐมวัย โดยการจัดสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ที่เปิดกว้างอย่างเหมาะสม
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
1.ความคิดคล่องแคล่ว
2.ความคิดยืดหยุ่น
3.ความคิดริเริ่ม
4.ความคิดละเอียดลออ

 ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
              2.1 ความคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ (Word Fluency) เป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
              2.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ (Associational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่กำหนด
              2.3 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expression Fluency) เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค กล่าวคือ สามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
              2.4 ความคล่องแคล่วในการคิด (Ideational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดค้นสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด เช่น ใช้คิดหาประโยชน์ของก้อนอิฐให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนดซึ่งอาจเป็น 5 นาที หรือ 10 นที

ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ประเภทหรือแบบของการคิดแบ่งออกเป็น
               3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility) เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดได้หลายทางอย่างอิสระ ตัวอย่างของคนที่มีความคิดยืดหยุ่นในด้านนี้จะคิดได้ว่าประโยชน์ของหนังสือพิมพ์มีอะไรบ้าง ความคิดของผู้ที่ยืดหยุ่นสามารถจัดกลุ่มได้หลายทิศทางหรือหลายด้าน เช่น เพื่อรู้ข่าวสาร เพื่อโฆษณาสินค้า เพื่อธุรกิจ ฯลฯ ในขณะที่คนที่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์จะคิดได้เพียงทิศทางเดียว คือ เพื่อรู้ข่าวสาร เท่านั้น
              3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง (Adaptive Flexibility) หมายถึง ความสามารถในการดัดแปลงความรู้ หรือประสบการณให้เกิดประโยชน์หลายๆ ด้าน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา ผู้ที่มีความยืดหยุ่นจะคิดดัดแปลงได้ไม่ซ้ำกัน

ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการคิดจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้แปลกแตกต่างจากที่เคยเห็น หรือสามารถพลิกแพลงให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่เคยคาดคิด ความคิดริเริ่มอาจเป็นการนำเอาความคิดเก่ามาปรุงแต่งผสมผสานจนเกิดเป็นของใหม่ ความคิดริเริ่มมีหลายระดับซึ่งอาจเป็นความคิดครั้งแรกที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครสอนแม้ความคิดนั้นจะมีผู้อื่นคิดไว้ก่อนแล้วก็ตาม

ความคิดละเอียดละออ (Elaboration) หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น ความคิดละเอียดละออจัดเป็นรายละเอียดที่นำมาตกแต่ง ขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ขึ้น


บทบาทของครู

1.ครูต้องเชื่อมั่นในตัวเด็ก
2.ครูต้องไม่เปรียบเทียบเด็ก 
3.ครูต้องยอมรับความแตกต่างของเด็กแต่ละคน
      ครูต้องมีความคิดทั้ง 4 องค์ประกอบนี้ เพื่อเป็นตัวกระตุ้นเด็กให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ และเปลี่ยนแปลงลูกศิษย์ให้มีศักยภาพได้อย่างเหมาะสม
  เด็กช่วงอายุ 0 - 6 ปี การจัดกิจกรรมจึงเปิดโอกาสและไม่มีกฎเยอะ ทำให้เด็กสามารถ มีความกล้าที่จะคิดและลงมือทำได้มาก ชิ้นงานไม่ได้ตัดสิ้นถึงความสามารถของเด็ก


กิจกรรม หน่วยแมลง



ฐานที่ 1 เป่าสี


ฐานที่ 2 ประดิษฐ์ของเล่น


ฐานที่ 3 การพิมพ์ภาพ เป็นผีเสื้อ


ฐานที่ 4 ออกแบบโดยใช้จานกระดาษ




การนำไปประยุกต์ใช้

 - จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน ตามหน่วยการเรียนรู้ที่จัดขึ้น
- เตรียมอุปกรณ์อย่างหลากหลายให้เด็กได้เลือกใช้เองตามใจชอบ


ผลการประเมิน

การประเมินตนเอง
- วันนี้ได้ทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งกิจกรรมที่ทำตามตัวแบบและกิจกรรมที่ใช้ความคิดริเริ่มด้วยตนเอง

การประเมินเพื่อน
- เพื่อนสนุกกับการทำกิจกรรมต่างๆ แต่ละคนได้ออกแบบสิ่งประดิษฐ์ของตนเองที่ไม่เหมือนใคร


การประเมินอาจารย์
- อาจารย์ตั้งใจสอนมาก และค่อยๆอธิบายขั้นตอนการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ 
- อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นโต้ตอบในชั้นเรียน







วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันที่ 3 เดือน ตุลาคม  ปี 2559  เวลาเรียน  08:30 - 12:30น.



ความรู้ที่ได้รับ


นำเสนอกิจกรรม STEM & STEAM ของแต่ละกลุ่ม




กลุ่มที่ 1 หน่วยบ้าน : สร้างบ้าน
สร้างบ้านจากวัสดุเหลือใช้




แต่ละกลุ่มเริ่มลงมือสร้างบ้านของตนเอง



มาช่วยกันสร้างบ้านนะ




บ้านในฝันของน้องฟ้าค่ะ

กลุ่มที่ 2 หน่วย ผลไม้ : ทำมงกุฎผลไม้กัน
ทำมงกุฎจากกระดาษสีต่างๆหรือจานกระดาษ




สำหรับกลุ่มดิฉันทำมงกุฎส้มจากจานกระดาษ





นางงามผลไม้ประจำปี 2559



กลุ่มที่ 3 หน่วยยานพาหนะ :ทำหุ่นนิ้วมือยานพาหนะ




ลงมือทำหุ่นนิ้วรถยนต์



กลุ่มที่ 4 หน่วยผลไม้ : ทำผลไม้จากกระดาษหนังสือพิมพ์





กลุ่มดิฉันทำกล้วยกับสตอเบอรี่


รวมผลไม้ที่แต่ละกลุ่มทำขึ้นมา



กลุ่มที่ 5 หน่วยปลา:ทำปลาจากทานกระดาษ





กลุ่มที่ 6 หน่วยไข่ : ทำตุ๊กตาล้มลุก







การนำไปประยุกต์ใช้
- เปิดโอกาสให้เด็กๆได้เรียนรู้ STEM & STEAM ผ่านการจัดกิจกรรมต่างที่จะทำให้เด็กได้ลงมือทำ

ผลการประเมิน

การประเมินตนเอง
- วันนี้สนุกกับการทำกิจกรรมต่างๆที่เพื่อนนำมาสอนและทำตัวเป็นเด็กที่ดีตั้งใจทำงานตามที่ครูเพื่อนในทำ

การประเมินเพื่อน

- เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรมกันมากในขณะที่เราทำกิจกรรมเพื่อนๆคอยให้ความช่วยเหลืออยู่เสมอ

การประเมินอาจารย์
- อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลองสอนเพื่อนๆทำกิจกรรม STEM & STEAM โดยคอยให้คำแนะนำอยู่ข้างๆ
- อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา

วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559